ธาตุแทรนซิชัน
Homepage
ธาตุแทรนซิชัน
ธาตุแทรนซิชัน (transition elements)
ตำแหน่งของธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ อยู่ระหว่างหมู่ IIA และ IIIA ประกอบด้วยธาตุหมู่ IB ถึงหมู่VIIIB รวม ทั้งกลุ่มแลนทาไนด์กับกลุ่มแอกทิไนด์ ดังรูป
สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
ธาตุแทรนซิชันทุกธาตุเป็นโลหะ แต่มีความแข็งแรง เหนียวและทนทานกว่าโลหะหมู่ A ในที่นี้จะศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันเฉพาะคาบที่ 4 เป็นธาตุคาบแรกที่มีธาตุแทรนซิชัน ประกอบด้วยธาตุที่มีเลขเชิงอะตอม 19 ถึง 36 ธาตุแทรนซิชันที่อยู่ในคาบนี้คือธาตุที่มีเลขเชิงอะตอมตั้งแต่ 21-30 ธาตุสแกนเดียม (Sc) เป็นธาตุแทรนซิชันที่มีเลขเชิงอะตอมต่ำสุด ดังรูป
ตารางเปรียบเทียบสมบัติของโลหะหมู่ A กับโลหะแทรนซิชันคาบที่ 4
ธาตุ\สมบัติ
|
เลขเชิง
อะตอม |
รัศมีอะตอม
ในโลหะ(pm) |
จุดหลอมเหลว
(oC) |
จุดเดือด
(oC) |
ความหนาแน่น
(g/cm3) |
IE1
(kJ/mol) |
อิเล็กโตร
เนกาติวิตี |
K
|
19
|
227
|
64
|
760
|
0.86
|
425
|
0.82
|
Ca
|
20
|
197
|
839
|
1490
|
1.54
|
596
|
1.00
|
Sc
|
21
|
160
|
1540
|
2730
|
3.0
|
632
|
1.36
|
Ti
|
22
|
150
|
1680
|
3260
|
4.5
|
661
|
1.54
|
V
|
23
|
140
|
1900
|
3400
|
6.1
|
648
|
1.63
|
Cr
|
24
|
130
|
1890
|
2480
|
7.2
|
653
|
1.66
|
Mn
|
25
|
140
|
1240
|
2100
|
7.4
|
716
|
1.55
|
Fe
|
26
|
130
|
1535
|
2750
|
7.9
|
762
|
1.83
|
Co
|
27
|
130
|
1500
|
2900
|
8.9
|
757
|
1.88
|
Ni
|
28
|
130
|
1450
|
2730
|
8.9
|
736
|
1.91
|
Cu
|
29
|
130
|
1080
|
2600
|
8.9
|
908
|
1.90
|
Zn
|
30
|
130
|
420
|
910
|
7.1
|
577
|
1.65
|
สมบัติของโลหะแทรนซิชันเมื่อเปรียบเทียบกับโลหะหมู่ 1A IIA มีความแตกต่างกันดังนี้
1. โลหะแทรนซิชันส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูงกว่าโลหะหมู่ IA , IIA
2. โลหะแทรนซิชันมีค่า IE1 สูงกว่าโลหะหมู่ IA , IIA ทำให้ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่า
โลหะหมู่ IA , IIA
โลหะหมู่ IA , IIA
3. โลหะแทรนซิชันมีรัศมีอะตอมใกล้เคียงกัน แต่รัศมีอะตอมสั้นกว่าธาตุหมู่ IA , II A และแนวโน้มใน
การเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่แน่นอน
การเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่แน่นอน
4. โลหะแทรนซิชันมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงกว่าโลหะหมู่ 1A 2A จึงเสียอิเล็กตรอนยากกว่า ทำให้
ความไวในการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุหมู่ 1A 2A
ความไวในการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุหมู่ 1A 2A
การจัดอิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชัน
ธาตุแทรนซิชันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เกิน 1 หรือ 2 ไม่ว่าจะอยู่หมู่ใด ถ้าดูเฉพาะเวเลนซ์อิเล็กตรอนจะเหมือนธาตุหมู่ 1A หรือ 2A แต่ต่างกันที่จำนวนอิเล็กตรอนชั้นที่อยู่ถัดเข้าไป คือถ้าเป็นโลหะหมู่ 1A หรือ 2A อิเล็กตรอนชั้นที่ถัดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเข้าไปจะเท่ากับ 8 แต่ถ้าเป็นโลหะแทรนซิชันจำนวนอิเล็กตรอนของชั้นที่ถัดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเข้าไปจะมีจำนวนไม่แน่นอน การจัดอิเล็กตรอนของโลหะแทรนซิชันคาบที่ 4 เป็นดังนี้
ตารางแสดงการจัดอิเล็กตรอนเปรียบเทียบระหว่างธาตุ IA , II A , (K,Ca) กับธาตุแทรนซิชันคาบที่ 4
ธาตุ
|
เลขเชิงอะตอม
|
การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
|
จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน
|
K
|
19
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d0 4s1
หรือ [Ar] 3d0 4s1
|
2, 8, 8, 1
|
Ca
|
20
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d0 4s2
หรือ [Ar] 3d0 4s2
|
2, 8, 8, 2
|
Sc
|
21
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d1 4s2
หรือ [Ar] 3d1 4s2
|
2, 8, 9, 2
|
Ti
|
22
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d2 4s2
หรือ [Ar] 3d2 4s2
|
2, 8, 10, 2
|
V
|
23
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d3 4s2
หรือ [Ar] 3d3 4s2
|
2, 8, 11, 2
|
Cr
|
24
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 4s1
หรือ [Ar] 3d5 4s1
|
2, 8, 13, 1
|
Mn
|
25
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 4s2
หรือ [Ar] 3d5 4s2
|
2, 8, 13, 2
|
Fe
|
26
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d6 4s2
หรือ [Ar] 3d6 4s2
|
2, 8, 14, 2
|
Co
|
27
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d7 4s2
หรือ [Ar] 3d7 4s2
|
2, 8, 15, 2
|
Ni
|
28
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d8 4s2
หรือ [Ar] 3d8 4s2
|
2, 8, 16, 2
|
Cu
|
29
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d10 4s1
หรือ [Ar] 3d10 4s1
|
2, 8, 18, 1
|
Zn
|
30
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d10 4s2
หรือ [Ar] 3d10 4s2
|
2, 8, 18, 2
|
สารประกอบของโลหะแทรนซิชัน
สารประกอบของโลหะแทรนส่วนใหญ่จะมีสี (คลิ้กชมภาพแสดงสีของสารละลายของสารประกอบของโลหะแทรนซิชัน) ในขณะที่สารประกอบของโลหะหมู่ A และสารละลายของสารประกอบของโลหะหมู่ A จะใสไม่มีสี ยกเว้นสารประกอบของ Pb เป็นโลหะหมู่ 4A แต่มีทั้งชนิดที่มีสีและไม่มีสี (คลิ้กชมภาพเปรียบเทียบสีของสารละลายของสารละลายของโลหะแทรนซิชันกับโลหะหมู่ A) พบว่าสีของธาตุแทรนซิชันจะสัมพันธ์กับเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชันนั้น ๆ ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างสีของสารประกอบและ ไอออนของธาตุแทรนซิชันบางชนิดกับเลขออกซิเดชัน
สูตร
|
ชื่อ
|
เลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชัน
|
สี
|
ScCl3
|
สแกนเดียม (III) คลอไรด์
|
+3
|
ไม่มีสี(ขาว)
|
Sc2S3
|
สแกนเดียม (III) ซัลไฟด์
|
+3
|
เหลือง
|
TiCl2
|
ไททาเนียม (II) คลอไรด์
|
+2
|
ดำ
|
TiS
|
ไททาเนียม (II) ซัลไฟด์
|
+2
|
น้ำตาล
|
TiF3 , TiCl3
| ไททาเนียม (III) ฟลูออไรด์ , คลอไรด์ |
+3
|
ม่วง
|
TiO
|
ไททาเนียม (II) ออกไซด์
|
+2
|
บรอน
|
Cr2+
|
โครเมียม (II) ไอออน
|
+2
|
น้ำเงิน
|
Cr3+
|
โครเมียม (III) ไอออน
|
+3
|
เขียว
|
CrO42-
|
โครเมตไอออน
|
+6
|
เหลือง
|
Cr2O72-
|
ไดโครเมตไอออน
|
+2
|
ส้ม
|
Mn2+
|
แมงกานีส (II) ไอออน
|
+2
|
ชมพูอ่อน
|
Mn(OH)3 *
|
แมงกานีส (III) ไฮดรอกไซด์
|
+3
|
น้ำตาล
|
MnO2 *
|
แมงกานีส (IV) ออกไซด์
|
+4
|
ดำ
|
MnO42-
|
แมงกานเนตไอออน
|
+6
|
เขียว
|
MnO4-
|
เปอร์แมงกาเนตไอออน
|
+7
|
ม่วงแดง
|
FeO
|
ไอร์ออน(II)ออกไซด์
|
+2
|
ดำ
|
Fe2O3
|
ไอร์ออน(III)ออกไซด์
|
+3
|
น้ำตาลแดง
|
FeSO4
|
ไอร์ออน(II)ซัลเฟต
|
+2
|
น้ำเงินเขียว
|
CoO
|
โคบอลต์(II)ออกไซด์
|
+2
|
ดำ
|
Co2O3
|
โคบอลต์(III)ออกไซด์
|
+3
|
ดำ
|
Co(OH)2
|
โคบอลต์(II)ไฮดรอกไซด์
|
+2
|
น้ำเงินเข้ม
|
NiF2
|
นิกเกิล(II)ฟลูออไรด์
|
+2
|
เหลือง
|
NiO
|
นิกเกิล(II)ออกไซด์
|
+2
|
เขียว
|
Ni2S3
|
นิกเกิล(III)ซัลไฟด์
|
+3
|
เขียว
|
CuSO4
|
คอปเปอร์(II)ซัลเฟต
|
+2
|
สีน้ำเงิน
|
CuF
|
คอบเปอร์(I)ฟลูออออไรด์
|
+1
|
ไม่มีสี
|
ZnO
|
ซิงค์ออกไซด์
|
+2
|
ขาว
|
ZnS
|
ซิงค์ซัลไฟด์
|
+2
|
ขาว
|
* ไม่ละลายน้ำ
เราไม่สามารถสรุปได้ว่าธาตุแทรนซิชันชนิดเดียวกัน เมื่ออยู่ในสารประกอบต่างชนิดแต่มีเลขออกซิเดชันเท่ากัน จะต้องมีสีเหมือนกันเสมอไป เช่น ScCl3 กับ Sc2S3 เลขออกซิเดชันของ Sc ในสารประกอบทั้ง 2 ชนิด = +3 แต่สีของสารประกอบไม่เหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตามมีธาตุแทรนซิชันจำนวนมากที่อยู่ในสารประกอบต่างชนิด แต่มีเลขออกซิเดชันเท่ากัน พบว่ามีสีเหมือนกัน เช่น CuSO4 Cu(NO3)2 กรณีนี้ Cu มีเลขออกซิเดชัน = +2 เท่ากันและพบว่ามีสีน้ำเงินเหมือนกัน (คลิ้กชมได้) ( Cu ถ้ามีเลขออกซิเดชัน = +1 จะไม่มีสี) (คลิ้ก ดูรูปสีของสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน)
แต่อย่างไรก็ตามมีธาตุแทรนซิชันจำนวนมากที่อยู่ในสารประกอบต่างชนิด แต่มีเลขออกซิเดชันเท่ากัน พบว่ามีสีเหมือนกัน เช่น CuSO4 Cu(NO3)2 กรณีนี้ Cu มีเลขออกซิเดชัน = +2 เท่ากันและพบว่ามีสีน้ำเงินเหมือนกัน (คลิ้กชมได้) ( Cu ถ้ามีเลขออกซิเดชัน = +1 จะไม่มีสี) (คลิ้ก ดูรูปสีของสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน)
- สีของสารประกอบของธาตุแทรนซิชันคาบที่ 4 เกิดจากการที่อิเล็กตรอนในระดับพลังงาน 3d มีไม่เต็ม
การที่ธาตุแทรนซิชันมีสีต่าง ๆ กันเมื่อมีเลขออกซิเดชันเปลี่ยนไป ทำให้ทราบขั้นตอนในการเกิดปฏิกิริยาของธาตุแทรนซิชัน โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสี เช่น โครเมียม (Cr) เมื่อมีเลขออกซิเดชัน +6 จะมีสีส้ม แต่ถ้ามีเลขออกซิเดชัน +3 จะมีสีเขียว ถ้าเราต้องการเปลี่ยน Cr2O72- ซึ่ง Cr มีเลขออกซิเดชัน +6 (สีส้ม) ให้เป็น Cr3+ (สีเขียว) โดยให้ Cr2O72- ทำปฏิกิริยากับ H2O2 ดังสมการ
Cr2O72- (aq) + H2O2(aq) → Cr3+(aq) + H2O(g) + ….
สีส้ม ไม่มีสี สีเขียว ไม่มีสี
ในการเกิดปฏิกิริยานี้ถ้าสารละลายเปลี่ยนจากสีส้มเป็นสีเขียวอย่างสมบูรณ์ ย่อมแสดงว่า Cr2O72- เปลี่ยนเป็น Cr3+ ตามต้องการ
แมงกานีส (Mn) เป็นธาตุแทรนซิชันที่เกิดสารประกอบได้หลายชนิด มีเลขออกซิเดชันหลายค่าและมีสีต่าง ๆ กันไป เช่น
สารประกอบของ Mn
|
เลขออกซิเดชันของ Mn
|
สี
|
KMnO4
|
+7
|
ม่วง
|
K2MnO4
|
+6
|
เขียว
|
MnO2
|
+4
|
เหลือง , ดำ
|
ถ้าเรามีสารละลาย KMnO4 สารละลายจะเป็นสีม่วง จากนั้นเติมสารละลายอื่น ๆ เพื่อให้ทำปฏิกิริยากัน มีผลให้ KMnO4 กลายเป็นสารประกอบชนิดใหม่ที่เลขออกซิเดชันไม่เท่าเดิม สีจึงเปลี่ยนไป เราสังเกตจากสีที่เปลี่ยนจะทราบว่าปฏิกิริยาก้าวหน้าไปถึงขั้นใด เช่น เติมสารละลาย NaOH กับสารละลาย C12H22O11 ลงในสารละลาย KMnO4 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนสี จะพบว่ามีการเปลี่ยนสีจากสีม่วงเป็รนสีเขียวและสีเหลืองตามลำดับ แสดงว่ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้น 2 ขั้นตอน ทำให้สารประกอบของ Mn เปลี่ยนจาก KMnO4 เป็น K2MnO4 และ MnO2 ตามลำดับ
การที่ธาตุแทรนซิชันมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เป็นเพราะการจัดอิเล็กตรอนมีลักษณะพิเศษต่างจากธาตุหมู่ A ถ้าเป็นธาตุแทรนซิชันคาบที่ 4 ความพิเศษอยู่ที่ 3d กับ 4s (คาบ 5 อยู่ที่ 4d กับ 5s และต่อ ๆ ไป ) เช่น โครเมียม ( Cr ) เมื่ออยู่ในภาวะปกติและเมื่ออยู่ในสารประกอบต่าง ๆ จะมีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้
โครเมียม
|
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
|
เลขออกซิเดชัน
|
ตัวอย่างสาร
|
24Cr
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 4s1
หรือ [Ar] 3d5 4s1
|
0
|
Cr
|
24Cr+
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 4s0
หรือ [Ar] 3d5 4s0
|
+1
|
ไม่พบในธรรมชาติ
|
24Cr2+
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d4 4s0
หรือ [Ar] 3d4 4s0
|
+2
|
CrO
|
24Cr3+
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d3 4s0
หรือ [Ar] 3d3 4s0
|
+3
|
CrCl3
|
24Cr4+
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d2 4s0
หรือ [Ar] 3d2 4s0
|
+4
|
CrI4
|
24Cr5+
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d1 4s0
หรือ [Ar] 3d1 4s0
|
+5
|
CrF5
|
24Cr6+
|
1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d0 4s0
หรือ [Ar] 3d0 4s0
|
+6
|
CrO3
|
จากตาราง จะเห็นว่า โครเมียมมีเลขออกซิเดชันได้ตั้งแต่ 0 ถึง +6 อะตอมจะเสียอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดก่อน คือ 4s ก่อน จากนั้นจึงเสียอิเล็กตรอนที่ระดับพลังงาน 3d ทำให้โครเมียมมีเลขออกซิเดชันหลายค่า ธาตุแทรนซิชันอื่น ๆ ก็จะมีสมบัติทำนองเดียวกันนี้ จึงมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าและเกิดสารประกอบได้หลายชนิดเช่นกัน
แม้ว่าธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่จะมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า แต่ก็มีธาตุแทรนซิชันบางธาตุมีเลขออกซิเดชันค่าเดียว ดังตารางต่อไปนี้ แสดงเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชันคาบที่ 4
- เลขออกซิเดชันที่มีวงกลมล้อมรอบเป็นค่าที่พบได้มากในสารประกอบของธาตุนั้น ๆ
สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน (complex compound) หรือประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds)
สารประกอบของธาตุแทรนซิชันมี 2 แบบ คือสารประกอบทั่วไป เช่น CuSO4 และสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันหรือประกอบโคออร์ดิเนชัน เช่น [ Cu ( NH3 ) 4]SO4
สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันประกอบด้วย ไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน (complex ion) ร่วมกับไอออนอื่น ๆ หรือไอออนเชิงซ้อนร่วมกับไอออนเชิงซ้อนด้วยกันก็ได้ ไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันประกอบด้วย อะตอมหรือไอออนของโลหะแทรนซิชันอยู่ตรงกลาง เรียกว่า central atom หรือ central ion มีกลุ่มของไอออนหรือโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวล้อมรอบ เรียกว่า ligands ระหว่างอะตอมกลางกับอะตอมที่ล้อมรอบจะสร้างพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ซึ่งกันและกัน (เป็นลักษณะของกรด-เบส ตามทฤษฎีของลิวอิส ซึ่งกล่าวว่า กรดคืออนุภาคที่รับคู่อิเล็กตรอนจากสารอื่น เบสคืออนุภาคที่ให้คู่อิเล็กตรอนแก่สารอื่น ) จำนวนลิแกนด์ที่สร้างพันธะกับอะตอมหรือไอออนกลาง (ล้อมรอบอะตอมกลาง) เรียกว่า เลขโคออร์ดิเนชัน
( coordination number) เช่น Co3+ ถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของ NH3 จำนวน 6 โมเลกุล ดังรูป
สารประกอบเชิงซ้อนต่าง ๆ อะตอมกลางจะเป็นไอออนบวกของโลหะ จึงเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอนจากโมเลกุลหรือไอออนที่ล้อมรอบ ฉะนั้นโลหะที่เป็นอะตอมกลางจึงมีสมบัติเป็นกรดตามทฤษฎีของลิวอิส ในขณะที่อนุภาคที่ล้อมรอบทำหน้าที่เป็นเบส อนุภาคที่ล้อมรอบอะตอมกลางในไอออนเชิงซ้อน มี 2 ประเภทคือ
- ไอออนที่มีประจุลบ ได้แก่ เฮไลด์ไอออน เช่น F-, Cl-, Br- , I- และไอออนอื่น ๆ เช่น
OH-, CN-, SCN- เป็นต้น ให้สังเกตว่าไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันที่เกิดจากไอออนของธาตุ
แทรนซิชันถูกล้อมรอบด้วยไอออนลบ ไอออนเชิงซ้อนดังกล่าวจะเป็นไอออนลบ เช่น [Fe(CN)6]3- MnO4- CrO42- Cr2O72- - โมเลกุลที่เป็นกลางที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว เช่น H2O , NH3 , CO, NO ให้สังเกตว่าไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน ที่เกิดจากไอออนของธาตุแทรนซิชันถูกล้อมรอบด้วยอะตอมที่เป็นกลาง ไอออนเชิงซ้อนจะมีประจุบวก เช่น Cu(NH3)42+
ตัวอย่าง ไอออนเชิงซ้อนที่มีประจุเป็นลบ จะมีกลุ่มไอออนที่มีประจุลบล้อมรอบ และไอออนเชิงซ้อนที่มีประจุเป็นบวกจะมีโมเลกุลที่เป็นกลางล้อมรอบ
ตัวอย่างสารประกอบเชิงซ้อน
- สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากไอออนเชิงซ้อนบวกกับไอออนลบ เช่น
[ Co ( NH 3 ) 6 ]Cl3 ประกอบด้วย [ Co ( NH 3 ) 6 ]3+ + 3Cl-
- สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากไอออนเชิงซ้อนลบกับไอออนบวก เช่น K3 [ Fe (CN) 6 ] ประกอบด้วย 3 K+ + [ Fe (CN) 6 ]3-
- สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากไอออนเชิงซ้อนบวกกับไอออนเชิงซ้อนลบ เช่น
[ Cu( NH3 )4 ] [ Ni ( CN ) 4 ] ประกอบด้วย [ Cu ( NH3 ) 4 ]2+ + [ Ni (CN) 4 ]2+
การเตรียมสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุทองแดง
การเตรียมสารประกอบเชิงซ้อนของทองแดง เช่น เฮกซะแอมมีนคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต เตรียมโดยนำ CuSO4 .5H2O ซึ่งเป็นผลึกสีฟ้าละลายน้ำ แล้วเติม NH3 และเอทานอลจะได้ผลึกสีครามเข้ม ดังสมการ CuSO4.5H2O + 4NH3 → Cu ( NH3 )4SO4 . H2O + 4H2O
คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต เตตระแอมมีนคอปเปอร์(II) ซัลเฟต
(สีฟ้า) (สีครามเข้ม)
(สีฟ้า) (สีครามเข้ม)
เมื่อเก็บผลึกเตตระแอมมีนคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตไว้ข้ามคืน สารนี้จะเปลี่ยนเป็นสารสีเขียวแกมฟ้า เพราะที่อุณหภูมิ 30 oC เตตระแอมมีนคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตจะแยกสลายให้น้ำ และแอมโมเนียอย่างละ 1 โมเลกุล ได้สารใหม่ คือ
Cu( NH3 )4SO4 . H2O → Cu( NH3 )3SO4 + NH3 + H2O
ถ้าพิจารณาเลขออกซิเดชันของทองแดงในสารประกอบทั้ง 3 ชนิดจะพบว่ามีค่า +2 เท่ากัน แต่จำนวนลิแกนที่ล้อมรอบ Cu2+ มีไม่เท่ากัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น