ตารางธาตุ

                                             Homepage

ตารางธาตุ


ตารางธาตุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น มีการจัดเรียง คือ
    

      1. จัดเรียงธาตุตามแนวนอนโดยเรียงลำดับเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา

      2. ธาตุซึ่งเรียงตามลำดับเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นและเป็นแถวตามแนวนอนเรียกว่า คาบ 
          ซึ่งมีทั้งหมด 7  คาบ ได้แก่
          คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ และ He
          คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ Li จนถึง Ne
          คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ Na จนถึง Ar
          คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ จนถึง Kr
          คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ Rb จนถึง Xe
          คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ Cs ถึง Rn
          คาบที่ 7 มี 29 ธาตุ(ที่ค้นพบ) คือ Fr จนถึง Ds และ Uuu Uub Uuq Uuh Uuo
      3. ธาตุในแถวตามแนวตั้ง มีทั้งหมด 18 แถว เรียกว่า หมู่ ซึ่งมีตัวเลขกำกับ แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย
          A  และ โดยที่
          หมู่ย่อย มี 8 หมู่ คือ หมู่ I จนถึง VIII A  (หมู่ O) และในหมู่ย่อยต่างๆ ของหมู่ 
          ก็มีชื่อเรียกเฉพาะ โดย
          - หมู่ I A มีชื่อว่า โลหะอัลคาไล
          - หมู่ II A มีชื่อว่า โลหะอัลคาไลน์ เอิร์ธ
          - หมู่ VI A มีชื่อว่า คาลโคเจน
          - หมู่ VII A มีชื่อว่า แฮโลเจน
          - หมู่ VIII A มีชื่อว่า ก๊าซมีตระกูล (Noble Gas) หรือ ก๊าซเฉื่อย (Inert Gas)
         หมู่ย่อย มี 8 หมู่ คือ หมู่ I จนถึง VIII B แต่เรียงเริ่มจากหมู่ III ถึงหมู่ II B 
         ซึ่งมีชื่อเรียกว่า   ธาตุแทรซิชัน (Transition Elements)
     4. ส่วนธาตุ 2 แถวล่าง ซึ่งแยกไว้ต่างหากนั้น เรียกว่า ธาตุแทรนซิชันชั้นใน 
         (Inner transition elements)
         ธาตุแถวบนคือธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 58 ถึง 71 เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ 
         (Lanthanide   series) ธาตุกลุ่มนี้ควรจะอยู่ในหมู่ III B โดยจะเรียงต่อจากธาตุ La
         ส่วนแถวล่าง คือ ธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 90 ถึง 103 เรียกว่า กลุ่มธาตุแอกทิไนด์ 
         (Actinide series) ธาตุกลุ่มนี้ควรอยู่ในหมู่ III B โดยเรียงต่อจากธาตุ Ac

     5. ธาตุไฮโดรเจนมีสมบัติบางอย่างคล้ายธาตุหมู่ 1 และมีสมบัติบางอย่างคล้ายธาตุหมู่ 7 
         จึงแยกไว้ต่างหาก

     6. ธาตุที่เป็นโลหะและอโลหะถูกแยกออกจากกันด้วยเส้นหนักขั้นบันได โดยทางซ้ายของเส้น
         บันได. เป็นโลหะ ทางขวาของเส้นขั้นบันไดเป็นอโลหะ ส่วนธาตุที่อยู่ชิดเส้นบันไดจะมีสมบัติ
         ก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะ เรียกธาตุพวกนี้ว่า ธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) ได้แก่ 
        โบรอน (B) ซิลิคอน (Si) เจอร์เมเนียม (Ge) อาร์เซนิกหรือสารหนู (As)
         แอนติโมนีหรือพลวง (Sb) และเทลลูเรียม (Te)

           อ้างอิง :https://sites.google.com/site/sornramwongpoo/kar


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ธาตุแทรนซิชัน

พันธะโควาเลนต์